วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราัะห์ SWOT

ส่งออกยางพาราไทย 

ไปยังตลาดใหญ่อย่างประเทศจีน

S(Strengths) จุดเด่นหรือจุดแข็ง
- มีการขนส่งไปจีนได้หลากหลายเส้นทางผ่านจุดผ่านแดนได้หลายเมือง  
- ไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลกมานานจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ทำให้การหาตลาดส่งออกทำได้ง่าย
-ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อปริมาณยางพาราทีจีนต้องการนำเข้าจากไทย ได้แก่ ยอดจำหน่ายรถยนต์ในจีน ยอดส่งออกยางรถยนต์ของจีน และราคาส่งออกยางพาราของไทย
-จีนมีแนวโน้มนำเข้ายางพาราเพิ่มขึ้น หลังจากในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 พื้นที่เพาะปลูกยางพาราได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง
- เป็นอุตสาหกรรมทีไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูง เพราะพึ่งพาวัตถุดิบในประเทศเป็นสำคัญ
-ไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตและแปรรูปยางพารา โดยเฉพาะยางแผ่นรมควัน ซึ่งไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลกต่อเนื่องมาเป็นเวลาไม่ตํ่ากว่า 20 ปี
 W (Weaknesses) จุดด้อย
- ผลผลิตยางพารากว่าร้อยละ 90 ต้องพึ่งพาตลาดส่งออก จึงอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก
-การส่งออกยางพารามีค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง
- โครงสร้างการปลูกยางพาราของไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ทำให้มีต้นทุนสูงในการรวบรวม
วัตถุดิบทั้งค่าขนส่ง และค่านายหน้า/คนกลางประเทศคู่แข่งใช้นํ้ายางสด หรือยางก้นถ้วย ทำให้กรรมวิธีการผลิตสั้นและมีต้นทุนตํ่ากว่าไทย
- ต้นทุนการผลิตยางแท่งของไทยสูง เนื่องจากไทยใช้ยางแผ่นดิบเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ขณะที่
 O (Opportunities) โอกาส

-จีนเริ่มหันมานำเข้ายางคอมปาวด์(ยางพาราผสมสารเคมี) เพิ่ม ขึ้นเนื่องจากอัตราภาษีนำเข้าเป็นศูนย์
- ตลาดขนาดใหญ่ประชากรมีกำลังซื้อ
- การคมนาคมขนส่งสะดวก
- มูลค่าการค้าตามแนวชายแดน และการค้าผ่านแดนมีแนวโน้มสูงขึ้น
- มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ
- อยู่ในพื้นที่พัฒนาเขตตะวันตกของจีน

-แนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ของจีน ส่งผลให้จีนมีความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น
ซึ่งช่วยทดแทนความต้องการใช้ยางพาราของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และ EU ที่ยังมีความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ
-โครงสร้างอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูปขั้นต้นของไทยเปลี่ยนจากเดิมทีเน้นผลิตเฉพาะยางแผ่นรมควัน
มาเป็นยางแท่งมากขึ้นนับเป็นการขยายโอกาสเพื่อสอดรับกับความต้องการของตลาดโลกทีหันมาใช้
ยางแท่งมากขึ้น
T (Threats) อุปสรรค
-มาตรฐานการตรวจสอบสินค้า และขั้นตอนทางด้านศุลกากร
-รัฐบาลจีนเก็บภาษีศุลกากรในการนำเข้ายางธรรมชาติ ในอัตราร้อยละ 20
ชาวจีนหลายคนมีความเห็นว่า สินค้าจากไทยส่วนใหญ่จะมีราคาแพง และไม่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวมากพอ

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

ส่งออกยางพาราไทย 

ไปยังตลาดใหญ่อย่างประเทศจีน






    ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับว่าประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพารารายใหญ่ ที่สุดในโลกและก็หนีไม่พ้นประเทศจีนที่เป็นประเทศนำเข้ายางพาราเป็นอันดับต้นๆเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อไป ส่วนประเภทของยางพาราที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่เป็นยางแผ่นรมควัน รองลงมาคือ ยางแท่งและน้ำยางข้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนเป็นตลาดส่งออกยางพาราที่น่าสนใจคือ จีนมีความต้องการใช้ยางพาราสูงกว่าปริมาณยางพาราที่ผลิตได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากในปัจจุบันมีนักลงทุนจากต่างชาติเข้าไปลงทุนตั้งฐานการผลิตยางรถ ยนต์ในจีนเพิ่มขึ้นทำให้ในปี 2543 จีนมีความต้องการใช้ยางพาราสูงถึง 970,000 ตัน/ปี ซึ่งมาเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาขณะที่จีนสามารถผลิตยางพาราได้ประมาณ 500,000 ตัน/ปีเท่านั้น ทำให้จีนต้องนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศสูงถึง 470,000 ตัน/ปี 
    ต้นทุนการผลิตยางพาราของจีนค่อนข้างสูง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เหมาะสม โดยจีนสามารถปลูกยางพาราได้เฉพาะพื้นที่ในมณฑลทางใต้เท่านั้น ประกอบกับเกษตรกรสวนยางของจีนไม่มีความชำนาญในการเพาะปลูกยางพารา ทำให้ต้นทุนการผลิตยางพาราของจีนค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย


ส่งออกยางพาราไทย
    
    อัตราภาษีรัฐบาลจีนเรียกเก็บภาษีนำเข้ายางพาราเฉลี่ยร้อยละ 20 ของราคานำเข้า(ตอนเข้าร่วมกับ WTO) การนำเข้ายางพารามาเพื่อผลิตส่งออก สามารถนำเข้าได้เสรีโดยไม่มีโควต้านำเข้า แต่ต้องเสียภาษีนำเข้าตามอัตราที่กำหนดอย่างไร ก็ตามผู้ส่งออกที่นำเข้ายางพาราสามารถขอคืนภาษีนำเข้าได้อีกด้วยประเภทของยางพาราที่จีนนำเข้าจากไทย ยางพาราที่จีนนำเข้าจากไทยมากที่สุดคือ ยางแท่ง โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 47 ของมูลค่าการนำเข้ายางพาราทั้งหมดจากไทย รองลงมาคือยางแผ่นรมควัน(ร้อยละ 41.8)โดยยางพาราส่วนใหญ่จีนนำเข้าไปเพื่อใช้ผลิตยางรถยนต์

เอกสารที่ใช้ในการส่งออกยางพารา

1. ขออนุญาตเป็นผู้ค้ายาง หรือแบบ ยาง 4 (ฝ่ายควบคุมยาง สถาบันวิจัยยาง)

2. ขออนุญาตมียางไว้ในครอบครอง หรือแบบ ยาง 16 (ฝ่ายควบคุมยาง สถาบันวิจัยยาง)

3. ขออนุญาตเป็นผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาเขต หรือแบบยาง 10 (ฝ่ายควบคุมยาง สถาบันวิจัยยาง) พร้อมค่าธรรมเนียมฉบับละ 100 บาท

4. ขอใบผ่านด่านศุลกากรในการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร หรือแบบยาง 12 (ฝ่ายควบคุมยาง สถาบันวิจัยยาง)

5. ชำระเงินสงเคราะห์กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฝ่ายการเงิน สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง)

6. พิธีการศุลกากร (กรมศุลกากร)



ที่มา ; http://ethaitrade.com/2008/export-watch/thai-rubber-export-china/

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของการตลาดและการค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ กับ การค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing
   ได้มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศในหลายๆ คำจำกัดความ ดังต่อไปนี้
     สมาคม การตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association: AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของ บุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)
     ดัง นั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูป ของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ใน ตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ


การค้าระหว่างประเทศ (International trade) 
     การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกันประเทศหนึ่งผลิต สินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตน ผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
  • ปัจจัย การผลิตต่าง ๆ ของแต่ละประเทศจะถูกใช้ไปในทางการผลิตสินค้าที่ประเทศของตนได้เปรียบในการ ผลิต ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศไปในทางที่มีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเท่า ที่จะทำได้

  • ประชากร ของแต่ละประเทศ จะได้รับสินค้าและบริการได้มากขึ้นกว่าที่ไม่มีการซื้อการซื้อขายแลกเปลี่ยน กับประเทศอื่น ๆ เลย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชากรมีความเป็นอยู่ดียิ่งขึ้น

  • ถ้า การสั่งสินค้าออกของประเทศ สามารถส่งออกเป็นจำนวนมากก็จะมีผลกระทบถึงรายได้ของประชากร ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดอำนาจซื้อเพิ่มมากขึ้น

  • สินค้าออกเป็นที่มาของเงินตราต่างประเทศ

  • สินค้าออกเป็นที่มาของรายได้และภาษีอาการของรัฐ

  • สินค้าเข้าที่เป็นประเภททุน จะขายเพิ่มในการผลิตและการพัฒนาประเทศ
  • เมื่อมีประสิทธิภาพในการผลิตสูงก็จะเป็นผลกระทบในการเพิ่มอำนาจซื้อแก่ประเทศอื่น ๆ ให้สามารถซื้อสินค้าออกของเราได้


แหล่งข้อมูล
  http://learners.in.th/file/kulkanit/
  www1.webng.com/logisticseminar/.../International_Marketing.doc

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศเกาหลี
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม   




   จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาชาวเกาหลีเองได้เรียกผืนแผ่นดินแห่งนี้ว่า' คึมซูกังซาน '(geumsugangsan)หรือ"ผืนพรมทองแห่งแม่น้ำและภูเขา" ความน่าพิศวงของผืนแผ่นดินนี้ถ่ายทอดผ่านแต่ละช่วงฤดูกาลด้วยทัศนียภาพที่แตกต่างกันไป ภูมิอากาศของเกาหลีซึ่งแบ่งออกเป็นฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวนั้นมีความแตกต่างกันมากทีเดียว คือช่วงฤดูหนาวโดยปกติจะกินเวลายาวนาน ฤดูร้อนสั้นกว่า และฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่สั้นที่สุด ช่วงเวลาฝนตกจะเป็นระหว่างฤดูร้อนในช่วงเดือนมิถุนายน
 

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการขาย

เทคนิคการเสนอขาย   

 

     (Selling Technique) คือ วิธีการขายที่พนักงานขาย ใช้ความสามารถส่วนตัวหรือใช้ศิลปะในการชนะใจลูกค้า โดยให้ความรู้สึกว่าลูกค้านั้นมีความสำคัญต่อผู้ขายมาก ให้ความชื่นชม ให้ความนับถือและให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้าให้มากที่สุด พนักงานขายที่ประสบความสำเร็จในอาชีพขายมีวิธีการใช้เทคนิคแตกต่างกันเช่น

- ความสามารถในการจำชื่อลูกค้าได้แม่นยำแสดงให้เห็นว่าลูกค้าเป็นคนสำคัญและถือเป็นการให้เกียรติยกย่องด้วย

- ความสามารถในการเลือกคำพูดที่สั้นกะทัดรัด เหมาสะ เช่น ไม่รวยก็สวยได้จิ๋วแต่แจ๋ว ฯลฯ

- ให้ลูกค้าทดลองฟรี ซื้อไปแล้วไม่ชอบใจเอามาคืนหรือเปลี่ยนเป็นสินค้าชนิดอื่นได้เหมาะกับสินค้าออกใหม่

- ความสามารถในการทำให้ความฝันของลูกค้ากลายเป็นความจริงได้ เช่น อยากมีบ้าน อยากมีรถ ฯลฯ

- หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่ทำให้เกิดภาพลบ เช่น
“ผมไม่แน่ใจว่า เรื่องนี้จะพอใจคุณหรือเปล่า”
“ผมคิดว่าคุณคงไม่ไปให้เจ้าอื่นเขาหลอกนะครับ”
“ถ้าคุณไม่คิดให้ลึกคุณคงไม่ซื้อของยี่ห้อนี้”ฯลฯ


เทคนิคการเสนอขาย

1. เทคนิคในการสร้างความเชื่อถือ (Conviction) สิ่งที่จะสร้างความน่าเชื่อถือกับลูกค้าได้แก่
1.1 การรับประกันคุณภาพ
1.2 การใช้เอกสารรับรอง
1.3 การทดสอบ
1.4 การพาเยี่ยมชมกิจการหรือโรงงาน
1.5 การพูดของพนักงานขาย
2. เทคนิคการเสนอขายที่เข้าใจง่ายและมีความชัดเจน(Clarity)
2.1 การใช้การแสดงประกอบการสาธิต(Showmanship)
2.2 การใช้คำพูดอย่างมีประสิทธิภาพ(Effective Talk)
2.3 การใช้ภาษาลูกค้า(Language) ใช้คำพูดสั้น กะทัดรัด พูดภาษาท้องถิ่น
3. เทคนิคการเสนอขายที่สมบูรณ์(Completeness)
3.1 การใช้คำพูดขายแบบมาตรฐาน
3.2 การใช้คำพูดที่จัดเตรียมไว้
4. เทคนิคการขจัดคู่แข่งขัน(Competition)



ขั้นตอนของเทคนิคการขาย การแสวงหารายชื่อลูกค้าอนาคต (Prospecting) เทคนิคขั้นแรกนี้พนักงานขายต้องพยายามหารชื่อลูกค้าอนาคตให้ได้ใช้วิธีการต่าง ๆ ดังนี้
    - วิธีโซ่ไม่มีปลายหรือวิธีการ “ปากต่อปาก” เหมาะกับสินค้าสัมผัสไม่ได้ หรือสินค้าพิเศษ เช่น การบริการของหมอ ยาบำรุง
- ใช้ศูนย์อิทธิพลหรือชมรม สมาคมที่เป็นที่ยอมรับของชุมชน ฯลฯ
    - วิธีการจัดแสดงสินค้า จะได้รายชื่อจากผู้เข้าชมงาน กรอกประวัติ ฯลฯ
- วิธีการสังเกตส่วนตัว โดยสังเกตจากลุ่มคนที่พนักงานขายร่วมสังสรรค์ หรือจากสื่อมวลชน จากสถานทสำนักงานที่มีกลุ่มคนมากมาย ฯลฯ
ที่มา http://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/20