วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

ส่งออกยางพาราไทย 

ไปยังตลาดใหญ่อย่างประเทศจีน






    ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับว่าประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพารารายใหญ่ ที่สุดในโลกและก็หนีไม่พ้นประเทศจีนที่เป็นประเทศนำเข้ายางพาราเป็นอันดับต้นๆเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อไป ส่วนประเภทของยางพาราที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่เป็นยางแผ่นรมควัน รองลงมาคือ ยางแท่งและน้ำยางข้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนเป็นตลาดส่งออกยางพาราที่น่าสนใจคือ จีนมีความต้องการใช้ยางพาราสูงกว่าปริมาณยางพาราที่ผลิตได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากในปัจจุบันมีนักลงทุนจากต่างชาติเข้าไปลงทุนตั้งฐานการผลิตยางรถ ยนต์ในจีนเพิ่มขึ้นทำให้ในปี 2543 จีนมีความต้องการใช้ยางพาราสูงถึง 970,000 ตัน/ปี ซึ่งมาเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาขณะที่จีนสามารถผลิตยางพาราได้ประมาณ 500,000 ตัน/ปีเท่านั้น ทำให้จีนต้องนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศสูงถึง 470,000 ตัน/ปี 
    ต้นทุนการผลิตยางพาราของจีนค่อนข้างสูง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เหมาะสม โดยจีนสามารถปลูกยางพาราได้เฉพาะพื้นที่ในมณฑลทางใต้เท่านั้น ประกอบกับเกษตรกรสวนยางของจีนไม่มีความชำนาญในการเพาะปลูกยางพารา ทำให้ต้นทุนการผลิตยางพาราของจีนค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย


ส่งออกยางพาราไทย
    
    อัตราภาษีรัฐบาลจีนเรียกเก็บภาษีนำเข้ายางพาราเฉลี่ยร้อยละ 20 ของราคานำเข้า(ตอนเข้าร่วมกับ WTO) การนำเข้ายางพารามาเพื่อผลิตส่งออก สามารถนำเข้าได้เสรีโดยไม่มีโควต้านำเข้า แต่ต้องเสียภาษีนำเข้าตามอัตราที่กำหนดอย่างไร ก็ตามผู้ส่งออกที่นำเข้ายางพาราสามารถขอคืนภาษีนำเข้าได้อีกด้วยประเภทของยางพาราที่จีนนำเข้าจากไทย ยางพาราที่จีนนำเข้าจากไทยมากที่สุดคือ ยางแท่ง โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 47 ของมูลค่าการนำเข้ายางพาราทั้งหมดจากไทย รองลงมาคือยางแผ่นรมควัน(ร้อยละ 41.8)โดยยางพาราส่วนใหญ่จีนนำเข้าไปเพื่อใช้ผลิตยางรถยนต์

เอกสารที่ใช้ในการส่งออกยางพารา

1. ขออนุญาตเป็นผู้ค้ายาง หรือแบบ ยาง 4 (ฝ่ายควบคุมยาง สถาบันวิจัยยาง)

2. ขออนุญาตมียางไว้ในครอบครอง หรือแบบ ยาง 16 (ฝ่ายควบคุมยาง สถาบันวิจัยยาง)

3. ขออนุญาตเป็นผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาเขต หรือแบบยาง 10 (ฝ่ายควบคุมยาง สถาบันวิจัยยาง) พร้อมค่าธรรมเนียมฉบับละ 100 บาท

4. ขอใบผ่านด่านศุลกากรในการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร หรือแบบยาง 12 (ฝ่ายควบคุมยาง สถาบันวิจัยยาง)

5. ชำระเงินสงเคราะห์กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฝ่ายการเงิน สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง)

6. พิธีการศุลกากร (กรมศุลกากร)



ที่มา ; http://ethaitrade.com/2008/export-watch/thai-rubber-export-china/

1 ความคิดเห็น: