วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิเคราัะห์ SWOT

ส่งออกยางพาราไทย 

ไปยังตลาดใหญ่อย่างประเทศจีน

S(Strengths) จุดเด่นหรือจุดแข็ง
- มีการขนส่งไปจีนได้หลากหลายเส้นทางผ่านจุดผ่านแดนได้หลายเมือง  
- ไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลกมานานจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ทำให้การหาตลาดส่งออกทำได้ง่าย
-ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อปริมาณยางพาราทีจีนต้องการนำเข้าจากไทย ได้แก่ ยอดจำหน่ายรถยนต์ในจีน ยอดส่งออกยางรถยนต์ของจีน และราคาส่งออกยางพาราของไทย
-จีนมีแนวโน้มนำเข้ายางพาราเพิ่มขึ้น หลังจากในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 พื้นที่เพาะปลูกยางพาราได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง
- เป็นอุตสาหกรรมทีไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูง เพราะพึ่งพาวัตถุดิบในประเทศเป็นสำคัญ
-ไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตและแปรรูปยางพารา โดยเฉพาะยางแผ่นรมควัน ซึ่งไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลกต่อเนื่องมาเป็นเวลาไม่ตํ่ากว่า 20 ปี
 W (Weaknesses) จุดด้อย
- ผลผลิตยางพารากว่าร้อยละ 90 ต้องพึ่งพาตลาดส่งออก จึงอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก
-การส่งออกยางพารามีค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง
- โครงสร้างการปลูกยางพาราของไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ทำให้มีต้นทุนสูงในการรวบรวม
วัตถุดิบทั้งค่าขนส่ง และค่านายหน้า/คนกลางประเทศคู่แข่งใช้นํ้ายางสด หรือยางก้นถ้วย ทำให้กรรมวิธีการผลิตสั้นและมีต้นทุนตํ่ากว่าไทย
- ต้นทุนการผลิตยางแท่งของไทยสูง เนื่องจากไทยใช้ยางแผ่นดิบเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ขณะที่
 O (Opportunities) โอกาส

-จีนเริ่มหันมานำเข้ายางคอมปาวด์(ยางพาราผสมสารเคมี) เพิ่ม ขึ้นเนื่องจากอัตราภาษีนำเข้าเป็นศูนย์
- ตลาดขนาดใหญ่ประชากรมีกำลังซื้อ
- การคมนาคมขนส่งสะดวก
- มูลค่าการค้าตามแนวชายแดน และการค้าผ่านแดนมีแนวโน้มสูงขึ้น
- มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ
- อยู่ในพื้นที่พัฒนาเขตตะวันตกของจีน

-แนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ของจีน ส่งผลให้จีนมีความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น
ซึ่งช่วยทดแทนความต้องการใช้ยางพาราของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และ EU ที่ยังมีความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ
-โครงสร้างอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูปขั้นต้นของไทยเปลี่ยนจากเดิมทีเน้นผลิตเฉพาะยางแผ่นรมควัน
มาเป็นยางแท่งมากขึ้นนับเป็นการขยายโอกาสเพื่อสอดรับกับความต้องการของตลาดโลกทีหันมาใช้
ยางแท่งมากขึ้น
T (Threats) อุปสรรค
-มาตรฐานการตรวจสอบสินค้า และขั้นตอนทางด้านศุลกากร
-รัฐบาลจีนเก็บภาษีศุลกากรในการนำเข้ายางธรรมชาติ ในอัตราร้อยละ 20
ชาวจีนหลายคนมีความเห็นว่า สินค้าจากไทยส่วนใหญ่จะมีราคาแพง และไม่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวมากพอ

1 ความคิดเห็น: